วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

วันอาทิตย์

image
พระประจำวันอาทิตย์ พระพุทธรูปปางวันอาทิตย์ (ปางถวายเนตร) นิรภัยทุกทิศ
วันอาทิตย์ (ธาตุไฟ) มนุษย์เราเกิดจากกามเป็นปางถวายเนตร คือให้มีดวงตาเห็นธรรมเห็นว่า มนุษย์ทุกชีวิตเกิดจากกาม โดยพุทธลักษณะท่านจึงประทับยืนและทํามือประสานไว้เบื้องหน้า เพื่อปิดทวารแห่งการเกิดของชีวิต เพราะทุกชีวิตเกิดจากทวารแห่งการเกิดกาย และไม่เกิดชีวิต ผู้เห็นแจ้งโลกย่อมเห็นภัยในการเกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ และตายเป็นทุกข์ที่มา : เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ทรงประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ที่ร่มมหาโพธิ์ ๗ วัน หลังจากนั้นพระองค์ทรงเสด็จออกจากร่มไม้มหาโพธิ์ ไปประทับยืนกลางแจ้งทางทิศเหนือของต้นมหาโพธิ์ ทรงทอดพระเนตรต้นโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตร ด้วยอิริยาบถดังกล่าวถึง ๗ วัน สถานที่เสด็จประทับยืนด้วยอริยาบถนั้น นับเป็นนิมิตรมหามงคล เรียกว่า "อนิมิสสเจดีย์" พระพุทธจริยาที่ทรงจ้องพระเนตรดูไม้มหาโพธิ์ โดยมิได้กะพริบพระเนตรถึง ๗ วันนั่นเป็นที่มาแห่งตํานานการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ เรียกว่า "ปางถวายเนตร"
เทพพระอาทิตย์2 copy๑. พระอาทิตย์
ตาม ตำนานโหราศาสตร์กล่าวไว้ว่า พระอิศวรเป็นเจ้าได้สร้างพระอาทิตย์ขึ้น ต้องเอาราชสีห์ ๖ ตัวมาเป่าลง แล้วห่อด้วยผ้าสีแดง (Red Rose) พรมด้วยน้ำอมฤต ก็บังเกิดเป็นองค์พระสุริยะทิพย์เทพยาทินกรขึ้น มีกายเป็นสีแดงทรงเครื่องทิพย์อาภรณ์พรายแพรวด้วยแก้วปัทมราช และวิมานสีแดง ทรงบนหลังราชไกรสร (ราชสีห์) เป็นพาหนะ สถิตอยู่ในอิสานทิศ
ตำนานมีว่า
ก. ในกาลครั้งหนึ่ง พระพฤหัสบดีเกิดเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ พระอาทิตย์เกิดเป็นมาณพไปเรียนวิชาศิลปะศาสตร์ในสำนักพระพฤหัสบดี อาจารย์ยกนางจันทร์ให้เป็นภรรยา พระอาทิตย์มีความพอใจรักใคร่นางมาก จึงเอานางใส่ตลับทองคำเก็บไว้ในเวลาเข้าป่าหาผลไม้ พระอังคารเกิดเป็นพิทยาธรเข้าไปสมจรด้วยนางจันทร์ในตลับนั้น พระพฤหัสบดีรู้เห็นเหตุการณ์นั้นโดยตลอด จึงทำเป็นปริศนาไว้รอท่าพระอาทิตย์เพื่อบอกเหตุการณ์ ครั้นพระอาทิตย์กลับมาจากป่า เข้าไปหาพระพฤหัสตามปกติ แลเห็นเชี่ยนหมากตั้งแยกกันออกเป็น ๓ ที่ซึ่งทุกทีเคยมีตั้งเพียง ๒ ที่เท่านั้น ก็เกิดความสงสัยจังถามพระอาจารย์ไปตามได้เห็นผิดสังเกต ทุกวันมาพระอาจารย์เคยตั้งเพียง ๒ ที่ มาวันนี้ไฉนจึงตั้งเป็น ๓ พระอาจารย์จึงแจ้งว่า ถ้าเธอใคร่จะรู้ว่าปริศนานั้นมีความหมายกระไร ก็จงไปเปิดตลับดูก่อนเถิด เมื่อพระอาทิตย์เปิดตลับดู ก็เห็นพระอังคาร ก็มีความโกรธแค้นมาก จึงยกพระขรรค์ขึ้นจะฟัน พิทยาธรพระอังคาร ก็จรเหาะขึ้นไปบนอากาศ แล้วกลับเอาพระขันธ์ฟันถูกศีรษะพระอาทิตย์แยก พระอาทิตย์จึงขว้างด้วยจักรไปต้องพิทพยาธรขาขาด ฯลฯ
ข. ในกาลครั้งหนึ่งพระอาทิตย์เกิดเป็นวานร พระอังคารเกิดเป็นพราน เมื่อโคทองของนายพรานหาย ก็เที่ยวตามหาในป่า ครั้นไปพบวานรอยู่บนต้นไม้ก็หมายจะเอาเป็นอาหาร จึงได้เอาก้อนดินขว้างขึ้นไปถูกศีรษะวานรแตก ฯลฯ
ตามหลักการพยากรณ์
การที่ตัวของพระอาทิตย์ ได้ถูกสร้างขั้นด้วยราชไกรสรนั้น จังมีนิสัยดุร้ายเหมือนกับราชสีห์
กล่าวกันว่า ราชสีห์มีนิสัยดุร้าย รักยศ รักความสวยงาม เจ้าชู้ ถือตัว ปัญญาไว ไหวพริบดี เฉียบขาด โอบอ้อมอารี ใจคอกว้างขวาง กล้าได้กล้าเสีย ชอบความอิสระ มีมานะ ไม่ง้องอนใคร แต่มักเป็นกำพร้า ทั้งพระอาทิตย์เป็นเขยพระพฤหัสบดี ซึ่งเป็นสามีนางจันทร์ เป็นศัตรูกับพระอังคาร (ดังตำนานกล่าวมาแล้ว) ข้อสังเกต ที่กล่าวถึงอุปนิสัยนี้ ก็เพราะธาตุไฟเป็นหลัก และมีสีแดง คือ สีของไฟประลัยกัลป์นั้นเอง บางตำรากล่าวไว้ว่า ดวงอาทิตย์เป็นดวงดาวสำคัญ ควรเปรียบเหมือนพระราชา ดาวดวงอื่นเปรียบเหมือนบริวาร (ตามหลักวิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และ ดาราศาสตร์) โดยบริวารเหล่านั้น ต้องได้รับอำนาจจากพระอาทิตย์ จึงเป็นดาวบาปเคราะห์

ตามหลักทักษา

บริวาร หมายถึง ผู้ที่อยู่ใกล้ชิด ผู้ที่แวดล้อม คนรับใช้ลูกน้อง ผู้ใต้บังคับบัญชา คนที่อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดู ลูกเลี้ยง เพื่อน ภรรยา สามี รวมถึงบุตรด้วย มุ่งเน้นทางด้านบุคคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น