วันพุธ (กลางคืน)(ธาตุลม) คือผู้รู้ที่มีทิฐิมานะไม่เชื่อฟัง เพราะมีความมืดอวิชชาเป็นเครื่องกําบังติดอัตตาตัวตน สอนผู้อื่นไม่ได้ จึงต้องเข้าป่าไปสอนตัวเองดีกว่าเพราะตัวเองมีใจเป็นบริวาร คือลิง เป็นผู้รับใช้มี ช้างเป็นพาหนะไว้ขี่คอยรับใช้ มีจิตเป็นพุทธะคอยสั่งสอน ช้าง+ลิง ยังสอนได้ฝึกได้ ถ้าหากฝึกคนไม่ได้เข้าป่าดีกว่า เมื่อสอนตนเองได้แล้ว จึงค่อยสอนผู้อื่นต่อไป
ที่มา : ในสมัยพุทธกาล เมืองโกสัมพี มีพระภิกษุ ๒ รูปคือ พระวินัยธร และพระธรรมธร (หรือพระธรรมกถึก) แต่ละรูปมีพระภิกษุเป็นบริวารรูปละ ๕๐๐ องค์ ได้อาศัยอยู่วัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี เกิดทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องเล็กๆน้อยๆ พระพุทธเจ้าทรงทราบ และตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง แต่ทั้ง ๒ ฝ่ายไม่ปฏิบัติตาม พระพุทธเจ้าจังเสด็จหนีออกไปจําพรรษาที่ป่ารักชิตวัน ซึ่งมีพญาช้างชื่อ "ป่าลิไลยกะ" และพญาลิง ถวายปรนนิบัติด้วย อาหาร ผลไม้ และป้องกันอันตรายต่างๆ มิให้มายํากรายต่อพระพุทธเจ้า เมื่อปวารณาออกพรรษาแล้วพระอานนท์พุทธอุปัฏฐากได้มาก ราบทูลเชิญเสด็จไปเมืองโกสัมพี จึงเรียกว่า "ปางป่าเลไลยก์"
พระราหู
พระอิศวรผู้เป็นเจ้า สร้างพระราหูขึ้นโดยใช้ศีรษะผีโขมด ๑๒ ตัวมาป่นลง แล้วประพรมด้วยน้ำอมฤตก็บังเกิดเป็นองค์พระอสุรินทรเรืองฤทธิ์ (ดำสลัว) (Dark) ทรงทิพยสุวรรณแสงสีใสสะอาด และมีวิมานเป็นสีนิลมีมหาสุบรรณราช(ครุฑ) เป็นพาหนะ สถิตในทิศพายัพ
ในอดีตปฐมกาลล่วงมาแล้ว พระอาทิตย์เกิดเป็นพญานาค พระพฤหัสบดีเกิดเป็นพระอินทร์ พระเสาร์เกิดเป็นพญานาค และพระอังคารเกิดเป็นพญาราชสีห์ ดำริห์พร้อมใจกันจะสร้างสระน้ำ ไว้ให้เป็นที่อาศัยแก่มนุษย์ และ เทวดา จึงพากันไปปรึกษาพระราหู พระราหูว่า เราไม่ได้อาศัยน้ำ และ แผ่นดินนั้นด้วย แต่นั้นมา เทวดาทั้ง ๔ ก็เคียดค้นต่อพระราหู ครั้นประชุมกันสร้างมหาสระชื่อว่า “สุรามฤต” เสร็จแล้วก็คิดอ่านช่วยกันรักษา ฝ่ายพระอินทร์ รักษาทางด้านเขาพระสุเมรุ พระยาครุฑรับรักษาทางด้านเขาสตบริภัณฑ์ พระยาราชสีห์รับรักษาทางป่าหิมพานต์ พระยานาครับรักษาทางดานมหาสมุทร อยู่จำเนียรกาลนานมาเกิดพิบัติเหตุวันหนึ่งพญาครุฑไล่จะจกกินพญานาค พญานาคหนีไปพึ่งพระราหู ขอร้องให้ช่วยชีวิต พระราหูเห็นดังนั้น จึงตวาดว่า เหวยครุฑใจบาป เอ็งมาไล่พวกข้าทำไม พญาครุฑตอบว่า นาคนี้เป็นอาหารของเรา พระราหูก็โกรธทะยานเข้าวิ่งไล่ พญาครุฑก็แล่นหนีไปพึ่งพระอินทร์ พระราหูมิอาจไล่เข้าไปได้ ก็หยุดอยู่ และเกิดกระหายน้ำเป็นกำลัง จึงลงไปกินน้ำในสระสุรามฤต พระอินทร์เห็นดังนั้น ก็ขว้างจักรไปถูกกายพระราหูขาดสองท่อน เดชะอำนาจที่ได้ดื่นน้ำสุรามฤต จึงมิตาย
ตามหลักพยากรณ์
พระราหูสร้างด้วยศีรษะผีโขมดป่า ดังนั้น นิสัยจึงเป็นผี คือ ชอบกินเครื่องเซ่น เช่นกุ้งพร่า ของยำ และ อาหารชนิดสุก ๆ ดิบ ๆ นอกนั้นยังชอบเครื่องดื่มมึนเมาทุกชนิด เช่น กัญชา ยาฝิ่น เป็นต้น นิสัยคล้ายคลึงกับพระเสาร์ โหราจารย์บางคนใช้พระเสาร์พยากรณ์แทนก็มี ซึ่งไม่ใคร่ผิดจากกันเท่าใดนัก พระราหูเป็นสหายรักสนิทกับเสาร์ และนอกจากเสาร์แล้ว ราหูไม่ยอมคบหาสมาคมกับพวกดาวพระเคราะห์ใด ๆ เลย มีนิสัยชอบยอชอบสรรเสริญ ชอบฟังเสียงที่เพราะเสนาะหู เช่น ดนตรี และความรื่นเริงบันเทิงใจเป็นที่สุด โกรธง่ายหายเร็ว ใจคอบึกบึน องอาจ กล้าหาญ ไม่เกรงกลัวสิ่งใด แต่ถ้ายอมกลัวแล้ว ก็ยอมอย่างราบคาบจริง ๆ ชอบผจญภัย เป็นประมุขของเหล่าพาล ขึ้นชื่อนักเลงแล้วเป็นของราหูทุกชนิด ลงได้รักก็รักจนหลง ลงได้เกลียดใครก็เกลียดไม่รู้หาย ทำนองพวกอสุรยักษ์ ตามพยากรณ์บางแห่งเรียกอสุราก็มี ถือว่าเป็นยักษ์เอาทีเดียว ตามอิทธิฤทธิ์ของดวงดาว ถือว่าราหูคือธาตุลมพายุ มีลักษณะร้ายแรง สิ่งใดที่กีดขวางต้องวินาศไปหมด ถ้าราหูให้ร้ายแม้จะกำเนิดในตระกูลเศรษฐีอันอุดมไปด้วยทรัพย์ ก็ล้างผลาญเสียมิให้เหลือหลอ แม้นราหูจะเป็นตัวดี หากกุมลักขณาก็ยังข่มขี่ให้ซวดเซไปในอารมณ์แปลก ๆ ได้ ราหูเมื่อผลาญได้เท่าใด ก็อาจสามรถที่จะช่วยทำคุณให้รวดเร็วดุจกัน ดังคำกล่าวว่า “ให้คุณอนันต์โทษมหันต์” สามารถช่วยตนเอง แล้วยังช่วยผู้อื่นได้ด้วย
อนึ่งราหูนี้ ตามตำนานกล่าวว่า เคยไปลักน้ำทิพย์กิน ถูกขว้างด้วยจักรตัวขาดครึ่งท่อน อาศัยที่ได้กินน้ำทิพย์ จึงมิตาย ฉะนั้นราหูจึงมักมีโรคประจำท้องเสมอ ตามมหาทักษากล่าวว่า เมื่อราหูเสวยอายุนั้นร้ายกาจนัก เท่าที่ได้สังเกต มักป่วยตั้งแต่สะดือลงมาถึงหัวเข่าในร่มผ้า มักจะเป็นโทษของราหูดุจกัน ไม่รู้จักอาย และเกรงใจใคร คือความคิดเห็นของตนเป็นใหญ่ เจ้าโวหารเล่นลิ้นผิดผันด้วย ถ้าหากราหูนำหน้าลัคขณาแล้วมีเสาร์ตามหลัง หรือมีเสาร์ตามหน้าราหูตามหลังแล้ว ใน ๒ ประการนี้มีแก่ผู้ใด ผู้นั้นมักมีนิสัยกล้าหาญ ไม่เกรงกลัวอันตรายใด ๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งความตาย ตัวอย่างเช่น ในดวงพระราชสมภพของสมเด็จพระนเรศวรของเราทำนองนี้ ยอมปล้นค่ายอย่างทหาร เอาพระชนม์ชีพเข้าแลก จนประสบชัยชนะ แต่ถ้าเสาร์ราหูเล็งกันแล้ว เจ้าชาตามักตายด้วยอาการรวดเร็ว แม้เจ้าชาตาจะสูงอายุ ราหูก็ยังทรงอำนาจ แม้จะเป็นดาวพระเคราะห์ที่ต่ำกว่าดาวทั้งหลาย แต่ก็เป็นที่เกรงกลัวของหมู่ดาวสูงสุด เพราะความเป็นพาลของพระราหู และมีดีอีกอย่างหนึ่งของราหูคือไม่เบียดเบียนข่มเหงผู้น้อยที่ยอมเกรงกลัว หรือผู้ที่อยู่ใต้อำนาจ ถ้าเป็นหัวหน้า พวกบริวารก็มีความยำเกรง รักใคร่นับถือเป็นที่พึ่งได้อย่างดี ถ้าเป็นนายทหารชั้นผู้บังคับบัญชา ย่อมเป็นที่รักใคร่นับถือของบรรดาผู้อยู่ใต้อำนาจ เพราะไม่ถือตนไว้ยศ มีทรัพย์ก็ไม่ยึดถาวร เพราไม่ตระหนี่ ทำอะไรใหญ่โตมโหฬาร คิดใหญ่ใฝ่สูง แต่ไม่ยั่งยืนถาวร ทำคุณให้แก่ใครไม่ขึ้นก็ชอบทำ เพราะเห็นเป็นของสนุก เวลาราหูมีอิทธิฤทธิ์แข็งกล้า พฤหัสบดีอยู่สูงก็ทำอะไรไม่ได้ ต้องพ่ายแพ้แก่ฝ่ายต่ำในบางเวลาเช่นเดียวกัน
อนึ่งราหูนี้ไม่มีเรือนชาตาที่อยู่ ต้องไปอาศัยเรือนเสาร์ในราศีกุมภ์เป็นเรือนครอง และไปอยู่ในราศีตุลย์ เป็นราชาโชค อุจจาวิลาศในเรือนศุกร์กับราศีเมถุน เป็นปกิณกะโชคในเรือนพุธ เพราะใน ๓ ราศีนี้เป็นธาตุลม ราหูอาศัยได้ ฉะนั้น ราหูจึงเป็นเจ้าแห่งความดุร้ายเก่งกาจในเรือนเสาร์ เป็นอาจารย์และแรงกามคุณในเรือนศุกร์ เจ้าโวหารพลิกแพลงในเรือนพุธ ดาวราหูนี้ เป็นดาวสำคัญในการพยากรณ์ที่เต็มไปด้วยอำนาจตามตำราโบราณ แต่งเป็นกลอนทำนายไว้ว่า “ราหูมาต้องลักขณา แม้สูงศักดิ์สุราลัยจะจากยศไกร วิบากใจไฟเผาผลาญ” ในโชคเทวฤทธิ์ก็ว่า “อสุรินทร์ทับลักขณาในบาปเคราะห์ จรไปเข้าทับกันทั้งจันทร์มาต้องลักขณา ท่านทายตัดชีวาถึงอาสัญ” ที่ร้ายก็ร้ายเอามากดังนี้
ถ้าจะถึงฝ่ายดีก็ดีเลิศ เช่น ตำราว่าพฤหัสบดี เสาร์ ราหู ทั้ง ๓ หมู่มาเป็นศิริต้องลักขณา วัตะสังคี มีบริวารเหลือหลาย ลูกไพร่นักเป็นนาย แม้เชื้อสายจะครองเมือง เวลาดี และร้ายเทียบเสมอ พฤหัสบดี ได้ในด้านตรงข้าม
อนึ่งตำนานของอินเดีย กล่าวว่า ราหูนี้เป็นหมุดจุดสกัดของโลก อยู่ตรงข้ามกับดาวพระเกตุ มีลูกเป็นดาวหางหรือผีพุ่งใต้ ราหูนี้มี ๒ ตอน คือ เมื่อขาดโดยถูกจักรของพระอินทร์แล้ว คงเป็นดาวตอนหนึ่งมาเป็นโลกพิภพ คือ โลกที่เราอยู่ตอนหนึ่ง โหรฮินดูเกรงขามราหูไม่น้อยกว่าเสาร์ ส่วนโหรฝรั่งไม่สู้กลัวราหู แต่กลัวเกตุ ซึ่งเป็นท่อนหางมากกว่า อย่างฮินดูกล่าวว่า ถ้าหางไปฟาดอะไรเข้า จะทำให้สิ่งนั้นวอดวายเสียหาย ส่วนท่อนหัว ซึ่งเป็นพิภพนี้ กระทำความเที่ยงไม่มีในโลก โดยจิตใจของมนุษย์ย่อมหวั่นไหวมัวเมาไปด้วยอำนาจ ของธาตุราหู
ในการยกเอาราหูขึ้นมาพยากรณ์มากกว่าดาวนพเคราะห์อื่น ก็เพราะว่าราหูแม้จะจรในจักรราศี ก็ไม่เหมือนดาวต่างๆ คือ เดินย้อนพวกดาวอื่น และเกตุก็เดินย้อนเช่นเดียวกันกับราหู จึงถือกันว่า หัวกับหางไปด้วยกัน และเป็นดาวบาปเคราะห์
ภูมิทักษา
มนตรี หมายถึง ผู้ใหญ่ที่ให้ความช่วยเหลือ อุปถัมภ์ เป็นที่พึ่งพาอาศัย ผู้ที่มีรายได้ อุดหนุนเรา เป็น sponser ให้เรา รวมถึงลูกค้า แขก ธนาคาร นายธนาคาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น